ค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโรคสะเก็ดเงินที่ Pfizer.com สํารวจอาการการวินิจฉัยการรักษาและสาเหตุของโรคนี้
ข้อมูลการศึกษาโรค
โรคสะเก็ดเงินเป็นโรคผิวหนังภูมิต้านตนเองเรื้อรังที่มีผลต่อประมาณร้อยละ 2 ถึง 3 ของประชากรโลกหรือ 125 ล้านคนทั่วโลก1,2 ในสหรัฐอเมริกา มีผู้ใหญ่ที่เป็นโรคสะเก็ดเงินมากกว่า 8 ล้านคน2
โรคสะเก็ดเงิน เป็นภาวะผิวหนังเรื้อรังที่ทําให้เซลล์ผิวหนังเกิดการแบ่งตัวที่เร็วกว่าปกติ1 ส่งผลให้วงจรชีวิตของเซลล์เร็วขึ้น และมีการสะสมของเซลล์ที่มากเกินไปจนเกิดเป็นแผ่นผิวหนังอักเสบ ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ทุกส่วนของร่างกาย โดยเฉพาะบริเวณข้อศอก เข่า หลังส่วนล่าง และหนังศีรษะ3,6 โรคสะเก็ดเงินอาจสัมพันธ์กับโรคเรื้อรังอื่นๆ เช่น โรคข้ออักเสบสะเก็ดเงิน โรคอ้วน ความดันโลหิตสูง เบาหวาน และโรคหัวใจ1
โรคสะเก็ดเงินสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ อย่างไรก็ตามช่วงอายุที่มักเริ่มเป็นโรคสะเก็ดเงินคือระหว่าง 15 ถึง 35 ปีและประมาณร้อยละ 10-15 ของผู้ที่เป็นโรคสะเก็ดเงินจะเริ่มมีอาการก่อนอายุ 104 ปี โรคสะเก็ดเงินพบได้ทั้งในเพศชายและเพศหญิง และสามารถเกิดขึ้นได้ในทุกกลุ่มเชื้อชาติ4.
นักวิจัยยังไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริงของโรคสะเก็ดเงิน แต่เชื่อว่าอาจเกิดจากระบบภูมิคุ้มกันและพันธุกรรม4
ปัจจัยที่อาจกระตุ้นให้เกิดโรคสะเก็ดเงิน เช่น5
ความเครียด
การบาดเจ็บหรือการถูกแดดเผาอย่างรุนแรง
การติดเชื้อ
ยาบางชนิด
อากาศหนาวและแห้งแล้ง
การสูบบุหรี่
การดื่มแอลกอฮอล์หนัก
อาการของโรคสะเก็ดเงิน อาจประกอบด้วย6
ผื่นแห้ง หนา และยกตัวขึ้น
ผิวหนังมีสะเก็ดสีขาวเงิน เรียกว่า scales
อาการคัน
โรคสะเก็ดเงินชนิดผื่นหนา (plaque psoriasis) เป็นชนิดที่พบมากที่สุด ทำให้เกิดผื่นหนาที่มีสะเก็ดสีขาวเงิน โดยมักพบในบริเวณ เช่น ข้อศอก หัวเข่า หนังศีรษะ และหลังส่วนล่าง7
โรคสะเก็ดเงินไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้11 มีตัวเลือกการรักษาที่แตกต่างกันมากมาย การรักษาที่พบได้ทั่วไป ได้แก่การรักษาเฉพาะที่ (ยาทาผิวหนัง), การฉายแสง (การรักษาด้วยแสงอัลตราไวโอเลต), การรักษาด้วยยารับประทานหรือการฉีดยา, และการรักษาที่เรียกว่า “ชีววัตถุ” (การฉีดหรือการให้ยาเข้าเส้นเลือด) ซึ่งมุ่งเป้าไปที่โปรตีนเฉพาะในระบบภูมิคุ้มกันที่มีบทบาทในการอักเสบของโรคสะเก็ดเงิน10
อ้างอิง