ไฟเซอร์กำลังทำงานอย่างหนักในการคิดค้น วิจัย และพัฒนาวัคซีนที่สามารถปกป้องทารกจากโรคต่างๆ ผ่านการฉีดวัคซีนในมารดา
เรากำลังใช้ความเชี่ยวชาญทางวิทยาศาสตร์ในด้านการค้นพบและพัฒนาวัคซีน เพื่อสร้างวัคซีนที่มีศักยภาพในการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันของมารดา
ซึ่งเป็นความสามารถตามธรรมชาติของสตรีมีครรภ์ในการปกป้องทารกในครรภ์ผ่านการถ่ายโอนแอนติบอดีสู่ทารกในครรภ์
ไฟเซอร์เป็นผู้นำในด้านนี้ โดยมุ่งเน้นไปที่การพัฒนาวัคซีนสำหรับมารดาเพื่อต่อต้านโรคที่เป็นภัยคุกคามต่อทารกในช่วงหลังคลอดไม่นาน ด้วยเป้าหมายในการช่วยให้ทารกนับล้านทั่วโลก มีโอกาสรอดพ้นจากโรคติดเชื้อร้ายแรงและมีชีวิตที่แข็งแรง
ทารกแรกเกิดและทารกที่มีอายุน้อยมักไม่สามารถสร้างระบบภูมิคุ้มกันที่เพียงพอต่อการป้องกันการติดเชื้อได้ และการฉีดวัคซีนโดยตรงมักไม่ใช่ทางเลือก เนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันของทารกยังไม่พัฒนาจนสมบูรณ์ ด้วยเหตุนี้ ถึงแม้ว่าระบบภูมิคุ้มกันของทารกจะสามารถต่อสู้กับการติดเชื้อส่วนใหญ่ได้ แต่บางครั้งการติดเชื้อเหล่านี้อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้1
เพื่อชดเชยระบบภูมิคุ้มกันของทารกที่ยังพัฒนาไม่เต็มที่ ธรรมชาติได้ออกแบบกลไกการป้องกันชั่วคราวเพื่อช่วยให้ทารกต่อสู้กับการติดเชื้อ ซึ่งจะเริ่มต้นตั้งแต่ไตรมาสที่สองและสูงสุดในช่วงไตรมาสที่สามของการตั้งครรภ์ แอนติบอดีจะถูกส่งผ่านจากมารดาไปยังทารกผ่านทางรก โดยแอนติบอดีของมารดาจะมีปริมาณสูงที่สุดในทารกเมื่อคลอดออกมา จากนั้นจะลดลงอย่าช้าๆ ในช่วง 6 ถึง 12 เดือนข้างหน้า ในขณะที่ระบบภูมิคุ้มกันของทารกค่อยๆ พัฒนาขึ้น นอกจากนี้ หลังการคลอดแอนติบอดียังสามารถส่งผ่านจากมารดาสู่ทารกผ่านทางน้ำนมได้อีกด้วย2 แอนติบอดีของมารดาสามารถช่วยให้ทารกต่อสู้กับการติดเชื้อในช่วงเวลาที่เปราะบางที่สุดในชีวิต2
อย่างไรก็ตาม เพื่อให้การป้องกันเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ จำเป็นต้องมีแอนติบอดีเพียงพอที่จะส่งผ่านไปยังทารก ซึ่งหมายความว่ายิ่งระดับแอนติบอดีในมารดาสูงเท่าใด โอกาสที่แอนติบอดีของมารดาจะถูกส่งผ่านไปยังทารกและช่วยปกป้องทารกแรกเกิดก็จะยิ่งสูงขึ้นเท่านั้น หญิงตั้งครรภ์สามารถได้รับแอนติบอดีในระดับสูงผ่านการสัมผัสหรือติดเชื้อเมื่อเร็วๆ นี้หรือผ่านการฉีดวัคซีน ดังนั้นการฉีดวัคซีนในมารดาอาจช่วยให้มั่นใจได้ว่าหญิงตั้งครรภ์มีแอนติบอดีเพียงพอที่จะถ่ายโอนไปยังทารกเพื่อหวังลดความเสี่ยงต่อโรคและการเสียชีวิตของทารกแรกเกิด
ความปลอดภัยของวัคซีนในระหว่างตั้งครรภ์ได้รับการบันทึกและสนับสนุนดีจากการทดลองทางคลินิกแบบสุ่ม และการศึกษาเชิงสังเกตที่แสดงให้เห็นว่าวัคซีน เช่น Tdap และ วัคซีนไข้หวัดใหญ่ มีความปลอดภัยสําหรับการใช้ในระหว่างตั้งครรภ์1,1
ปัจจุบัน องค์การอนามัยโลก (WHO) แนะนํากลยุทธ์ในการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันของมารดา 3 ประการ ได้แก่ วัคซีนไข้หวัดใหญ่ วัคซีนบาดทะยักสำหรับมารดา และวัคซีน Tdap4
กลุ่มผู้เชี่ยวชาญที่ปรึกษาเชิงกลยุทธ์ (SAGE) ขององค์การอนามัยโลก แนะนําให้ฉีดวัคซีนป้องกันบาดทะยักในระหว่างตั้งครรภ์ และระบุว่าหญิงตั้งครรภ์เป็นกลุ่มเป้าหมายหลักสําหรับการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่4
คณะกรรมการที่ปรึกษาด้านความปลอดภัยของวัคซีนขององค์การอนามัยโลกได้ประเมินข้อมูลเกี่ยวกับความปลอดภัยของการฉีดวัคซีนในหญิงตั้งครรภ์สําหรับวัคซีนเชื้อตายหลายและวัคซีนเชื้อเป็นอ่อนฤทธิ์หลายชนิด
ในสหรัฐอเมริกา ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค (CDC) และสมาคมสูตินรีแพทย์แห่งสหรัฐอเมริกา (ACOG) แนะนําให้หญิงตั้งครรภ์ในไตรมาสที่สามรับวัคซีน Tdap เพื่อปกป้องทารกจากอาการไอกรน และบาดทะยัก11,12 ทั้งสององค์กรยังแนะนําว่าให้หญิงตั้งครรภ์รับวัคซีนไข้หวัดใหญ่เพื่อป้องกันตนเองและทารกจากภาวะแทรกซ้อนของไข้หวัดใหญ่ได้13, 14
เพื่อลดภาระโรคในเด็กทารกทั่วโลก องค์การอนามัยโลก (WHO) องค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (FDA) และหน่วยงานกำกับดูแลอื่นๆ ร่วมกับมูลนิธิ Bill and Melinda Gates (BMGF) ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการพัฒนาวัคซีนสำหรับสตรีมีครรภ์โดยเฉพาะ
ขณะนี้มีการมุ่งเน้นไปที่การพัฒนาวัคซีนป้องกันไวรัสระบบทางเดินหายใจ (RSV) ซึ่งเป็นโรคระบบทางเดินหายใจที่อาจเป็นอันตรายโดยเฉพาะทารกในช่วงเดือนแรกๆ ของชีวิต และเชื้อสเตร็ปโตคอคคัสกรุ๊ปบี (GBS) ซึ่งเป็นโรคติดเชื้อแบคทีเรียที่สามารถเกิดขึ้นได้ภายในไม่กี่ชั่วโมงหรือวันหลังคลอด
ปัจจุบัน ทีมวิจัยและพัฒนาวัคซีนของไฟเซอร์ (R&D) กําลังทํางานอย่างแข็งขันและกระตือรือร้นในการพัฒนาวัคซีนสําหรับ RSV และ GBS ด้วยมีเป้าหมายในการลดภาระโรคทั่วโลกจากเชื้อเหล่านี้
การพัฒนาที่ประสบความสําเร็จและการนำเสนอวัคซีนใหม่ของมารดาในอีกไม่กี่ปีข้างหน้าที่มีศักยภาพในการสร้างผลลัพธ์ทางสุขภาพที่ดีในระดับโลกอย่างมีนัยสำคัญ และเพื่อสร้างเครื่องมือเพิ่มเติมเพื่อให้สามารถบรรลุเป้าหมายที่สำคัญในการลดอัตราการเจ็บป่วยและการเสียชีวิตของทารกทั่วโลก
Kathrin Jansen, PhD, หัวหน้าฝ่ายวิจัยและพัฒนาวัคซีน แบ่งปันวิธีการที่นักวิทยาศาสตร์กําลังศึกษาแนวทางที่วัคซีนอาจช่วยปกป้องเด็กแม้ในช่วงแรกของมีชีวิต
แหล่งที่มา
(1) Maternal Vaccination as an Essential Component of Life-Course Immunization and Its Contribution to Preventive Neonatology. US National Library of Medicine National Institutes of Health https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5981886/
(2) Immunization. US National Library of Medicine National Institutes of Health https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/30913173
(3) World Health Organization. Safety of Immunization during Pregnancy: A review of the evidence. https://www.who.int/vaccine_safety/publications/safety_pregnancy_nov2014.pdf?ua=1
(4) World Health Organization. Immunization coverage. https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/immunization-coverage
(5) Centers for Disease Control and Prevention. Why Maternal Vaccines Are Important. https://www.cdc.gov/vaccines/pregnancy/hcp-toolkit/important-maternal-vaccines.html
(6) American College of Obstetricians and Gynecologists. Immunization, Infectious Disease, and Public Health Preparedness Expert Work Group. https://www.acog.org/Clinical-Guidance-and-Publications/Committee-Opinions/Immunization-Infectious-Disease-and-Public-Health-Preparedness-Expert-Work-Group/Maternal-Immunization
(7) Pfizer. Press Release. https://www.pfizer.com/news/press-release/press-release-detail/pfizer_begins_a_phase_1_2_study_to_evaluate_respiratory_syncytial_virus_rsv_vaccine-0
(8) U.S. Food and Drug Administration. FDA Briefing Document: Vaccines and Related Biological Products Advisory Committee Meeting, May 17, 2018. https://www.fda.gov/media/113260/download