ยีนบำบัด: การรักษาด้วยยีน
ยีนบำบัดคือยารุ่นต่อไปที่มุ่งเป้าไปที่สาเหตุของโรคทางพันธุกรรม ซึ่งมีศักยภาพในการมอบประโยชน์ทางการรักษาที่ดีขึ้น และช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยได้อย่างมาก
ยีนเป็นหน่วยพื้นฐานของทางกายภาพและการทำงานของการถ่ายทอดทางพันธุกรรม ซึ่งประกอบด้วยดีเอ็นเอ1 โครงการจีโนมมนุษย์ประมาณการว่ามนุษย์มีจำนวนยีนอยู่ระหว่าง 20,000-25,000 ยีน1 แม้ว่ายีนจะมีขนาดเล็ก แต่ยีนของเราคือพิมพ์เขียวที่กำหนดการทำงานของแต่ละเซลล์ในร่างกาย ซึ่งประกอบด้วยดีเอ็นเอ 30 ล้านคู่เบส
โรคทางพันธุกรรมเกิดจากการเปลี่ยนแปลงใน ดีเอ็นเอ ของแต่ละบุคคล ซึ่งมักจะถูกถ่ายทอดทางพันธุกรรมหรือเกิดขึ้นเองโดยไม่มีสาเหตุที่ชัดเจน แต่พบได้ยาก ยีนมีบทบาทสำคัญในการกำหนดการทำงานของแต่ละเซลล์ในร่างกาย ซึ่งประกอบด้วยดีเอ็นเอ 30 ล้านคู่เบส หากมีการเสียหายเกิดขึ้นแม้แต่เพียงเบสเดียว อาจทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของยีน ทำให้เกิดโรคทางพันธุกรรม3 ซึ่งบางโรคอาจทำให้เกิดความพิการและเป็นอันตรายถึงชีวิตได้4
การบำบัดด้วยยีนคือรุ่นใหม่ ที่นำยีนที่สามารถทำงานได้ปกติเข้าสู่เนื้อเยื่อเป้าหมายในร่างกายเพื่อสร้างโปรตีนที่ขาดหายไปหรือไม่สามารถทำงานได้ ด้วยการรักษาด้วยยีน ทำให้การรักษาสามารถมุ่งเป้าเพื่อจัดการกับสาเหตุของโรคได้ในระดับเซลล์ และอาจรักษาได้ด้วยการรักษาเพียงครั้งเดียว5,6,7
สำหรับการรักษาด้วยยีนโดยวิธี in vivo จะทำโดยการนำยีนที่สามารถทำงานได้ถ่ายโอนไปยังเซลล์ภายในร่างกายผ่านการฉีดเข้าสู่เส้นเลือด และใช้เป็นพิมพ์เขียวในการสร้างโปรตีนที่ขาดหายไปหรือไม่สามารถทำงานได้8 สำหรับวิธี ex vivo จะทำโดยการนำเซลล์ของผู้ป่วยออกมาจากร่างกายและทำการปรับแต่งยีนภายนอกร่างกาย จากนั้นจึงทำการฉีดยีนที่แก้ไขให้สามารถทำงานได้กลับเข้าสู่ร่างกาย9
การแก้ไขยีนคือการเปลี่ยนแปลง ดีเอ็นเอ ของผู้ป่วยอย่างแม่นยำโดยใช้เอนไซม์ที่มีความจำเพาะ (เช่น CRISPR, Zinc Finger)10,11 วิธีการนี้เอนไซม์ที่มีความจำเพาะ หรือเพิ่มยีนที่สามารถทำงานได้เข้าสู่ร่างกายของผู้ป่วย10
อีกหนึ่งวิธีคือการใช้เทคโนโลยี อาร์เอ็นเอ เพื่อเปลี่ยนการแสดงออกของยีนโดยกำหนดเป้าหมายผลิตภัณ์ที่ได้จากกระบวนการถอดรหัสดีเอ็นเอ (อาร์เอ็นเอ) โดยวิธีการนี้สามารถหยุดการทำงานของยีนที่ทำงานผิดปกติซึ่งเกี่ยวข้องกับโรคทางพันุกรรมได้
การบำบัดด้วยยีน: ความก้าวหน้าที่เปลี่ยนชีวิตของผู้ป่วย
โปรดคลิกที่ภาพด้านล่างเพื่อดาวน์โหลดเอกสารข้อมูล Gene Therapy Fact Sheet:
ยีนบำบัดแตกต่างจากการรักษาด้วยยาในปัจจุบัน ที่มักจะต้องรับประทานยาบ่อยครั้ง และและมุ่งเน้นที่การจัดการอาการและชะลอการดำเนินของโรค ยีนบำบัดมีจุดมุ่งหมายเพื่อแก้ไขยีนที่ไม่ทำงานให้กลับมาเป็นปกติและให้ประโยชน์ในการรักษาในระยะยาวด้วยการให้ยาเพียงแค่ครั้งเดียว5,6,7
อย่างไรก็ตาม แม้ว่ายีนบำบัดจะเป็นวิธีการที่มีแนวโน้มที่ดีในการรักษาผู้ที่มีโรคทางพันธุกรรม แต่ก็ไม่ใช่วิธีการรักษาที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยทุกราย ความเสี่ยงและผลประโยชน์ที่อาจเกิดขึ้นจากการบำบัดด้วยยีนจะต้องได้รับการประเมิน และวิจัยต่อไป13
ผู้ป่วยบางรายอาจเคยได้รับเชื้อไวรัส AAV (Adeno-Associated virus) ทำให้ร่างกายมีการสร้างแอนติบอดีต่อไวรัสนี้ ชนิดนี้ ส่งผลให้ไม่สามารถรับการบำบัดด้วยยีนได้ หากผู้ป่วยเหล่านี้รับการบำบัดด้วยยีนอาจมีการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันทันทีหลังการรักษา โดยร่างกายของผู้ป่วย จะทำให้ยีนที่ใช้ในการบำบัดสูญเสียหน้าที่13 หากสามารถตรวจพบได้เร็ว การตอบสนองเหล่านี้อาจสามารถรักษาได้ด้วยสเตียรอยด์ ซึ่งอาจทำให้การทำงานของยีนยังคงมีเสถียรภาพ14
ในการเข้ารับการบำบัดด้วยยีนจะถูกกำหนดโดยเกณฑ์หลายประการ ประกอบด้วยการตรวจเลือดเพื่อตรวจหาแอนติบอดีต่อยีนที่ใช้ในการรักษาสำหรับผู้ป่วย ผู้ป่วยสามารถปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับเกณฑ์และผลการทดสอบเพื่อกำหนดแนวทางการรักษาเป็นรายบุคคล15,16 ปัจจัยที่อาจทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถรับการบำบัดด้วยยีนได้ ได้แก่ ผู้ป่วยมีแอนติบอดีที่จะทำให้การบำบัดด้วยยีนสูญเสียประสิทธิภาพ และผู้ป่วยที่เคยได้รับยีนบำบัดมาก่อนและร่างกายสร้างแอนติบอดีต่อยีนนั้นๆ นอกจากนี้ การมีโรคร่วมบางชนิด และอายุของผู้ป่วยขณะทำการรักษาก็เป็นปัจจัยสำคัญ
ในปัจจุบันยังคงมีการศึกษาจำนวนมากเพื่อหาคำตอบเกี่ยวกับยีนบำบัด รวมถึงการศึกษาระยะเวลาที่การบำบัดด้วยยีนจะยังคงมีประสิทธิภาพ15 อย่างไรก็ตามหลักฐานในปัจจุบันบ่งชี้ว่าการบำบัดด้วยยีนมีศักยภาพที่จะเพิ่มหรือฟื้นฟูการทำงานของเนื้อเยื่อหรือเซลล์ที่ได้รับผลกระทบในระยะยาว และอาจช่วยให้ผู้ป่วยสามารถจัดการกับโรคของตนเองได้โดยไม่จำเป็นต้องได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง
ข้อมูลอ้างอิง: